งานวิจัยในชั้นเรียน

23 สิงหาคม 2553

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

รายงานการวิจัย
เรื่อง การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป วิชาภาษาไทย เรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียง สำหรับนักศึกษาระดับประถมศึกษา ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ความสำคัญของปัญหา
                  จากการสอนวิชาภาษาไทยมาหลายปี พบว่านักศึกษาระดับประถมศึกษา กลุ่มตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการใช้คำไทย 7 ชนิด โดยเฉพาะเรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียง อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นครูภาษาไทยและมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนา การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะสร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียง สำหรับนักศึกษาระดับประถมศึกษา เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดเวลาสอนของครูและเพื่อสร้างความสนใจให้ผู้เรียนเกิดความสนุก ไม่เบื่อหน่ายในบทเรียน เพราะบทเรียนสำเร็จรูปทำให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันได้เรียนได้ด้วยตนเองไม่จำกัดเวลาและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
 วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูปรายวิชา ภาษาไทย เรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง สำหรับนักศึกษาระดับประถมศึกษา
2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ก่อนเรียนและหลังเรียนจากบทเรียนสำเร็จรูป
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น คือ วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียง
สำหรับนักศึกษาระดับประถมศึกษา
ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง
สำหรับนักศึกษาระดับประถมศึกษา
นิยามศัพท์เฉพาะ
บทเรียนสำเร็จรูป หมายถึง สื่อการสอนที่มุ่งให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นกรอบหลายๆ กรอบซึ่งแต่ละกรอบจะมีเนื้อหาที่เรียบเรียงไว้มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ตามลำดับ โดยมีส่วนที่ผู้เรียนจะต้องตอบสนองด้วยการเขียนตอบซึ่งอาจอยู่ในรูปเติมคำในช่องว่าง เลือกคำตอบ ฯลฯ และมีส่วนที่เป็นเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งอาจอยู่ข้างหน้าของกรอบนั้นหรือกรอบถัดไป หรืออยู่ที่ส่วนอื่นของบทเรียนก็ได้ บทเรียนสำเร็จรูปที่สมบูรณ์จะมีแบบทดสอบวัดความก้าวหน้าของการเรียนโดยทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แล้วพิจารณาว่าหลังเรียน นักศึกษาแต่ละคนมีคะแนนมากกว่าก่อนเรียนมากน้อยเพียงใด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ความสามารถของนักศึกษาระดับประถมศึกษาใน เนื้อหาวิชาภาษาไทย เรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง วัดได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การวิจัยครั้งนี้จะทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้ คือ
1. ประโยชน์สำหรับนักศึกษา
1.1 นักศึกษามีความรู้และเข้าใจในบทเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง
1.2 มีบทเรียนสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพเป็นแนวทางในการสร้างสื่อการสอนในรายวิชาอื่น ๆ
2 ประโยชน์ต่อผู้สอน / ครู
2.1 สร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง สำหรับใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ระดับ ประถมศึกษา ที่มีประสิทธิภาพ
2.2 เป็นสื่อการสอนช่วยประหยัดเวลาในการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง
วิธีดำเนินการวิจัย / วิธีดำเนินการแก้ปัญหา
1. ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
ประชากร คือ นักศึกษากลุ่มตำบลนาถ่อน ระดับประถมศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน ในภาค เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 22 คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประถมศึกษา กลุ่มตำบลนาถ่อน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 5 คน ที่มีปัญหาไม่เข้าใจเรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง สำหรับนักศึกษาระดับประถมศึกษา
2. เครื่องมือที่ใช้
2.1 เครื่องมือในการแก้ปัญหา / แนวทางแก้ปัญหา คือ
บทเรียนสำเร็จรูป วิชาภาษาไทย เรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียง โดยผู้สอนจะทำการทดสอบนักศึกษาก่อนใช้นวัตกรรมและดำเนินการสอนเนื้อหาโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ดังกล่าวในการพัฒนานักศึกษา ซึ่งในตัวนวัตกรรมประกอบด้วยเนื้อหา แบบทดสอบ เพื่อนำผลมาใช้นวัตกรรมและนำนวัตกรรมมาปรับปรุงเพื่อให้ได้บทเรียนสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพ
2.2.1 บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง

         1. ศึกษาหลักสูตร เนื้อหา ขั้นตอนรายละเอียดของการสร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง
        2. สร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง โดยคิดค้นตัวอย่างคำพ้องรูป คำพ้องเสียง การแทรกรูปภาพที่น่าสนใจจากภาพถ่ายและจากอินเตอร์เน็ต
        3. ตรวจสอบความถูกต้องของตัวสะกดและไวยากรณ์
        4. นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองใช้กับนักศึกษากลุ่มอื่นที่ใช้กลุ่มตัวอย่างว่านวัตกรรมชิ้นนี้เหมาะสมหรือไม่
        5. นำผลสะท้อนมาปรับปรุงให้มีความถูกต้องสมบูรณ์
        6. นำนวัตกรรมไปใช้กับนักศึกษา
        7. พิมพ์บทเรียนฉบับจริงสำหรับใช้ต่อไป
2.2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
       2.2.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
       1. ศึกษาตัวอย่างแบบทดสอบจากตัวอย่างงานวิจัยในเอกสาร จากอินเตอร์เน็ตหนังสือต่าง ๆ เกี่ยวกับงานวิจัย
      2. ศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบ จากอินเตอร์เน็ต หนังสือแบบเรียน
      3. ขอคำแนะนำวิธีการสร้างแบบทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญ จากโรงเรียนวัด พระธาตุพนม
      4. สร้างแบบทดสอบ
      5. ตรวจหาประสิทธิภาพของแบบทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญว่าเหมาะสมสามารถวัดพัฒนาการของนักศึกษาระดับประถมศึกษาได้หรือไม่
      6. ปรับปรุงแบบทดสอบตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
      7. นำผลสะท้อนมาปรับปรุงแก้ไข
     8. นำไปใช้กับนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
             ผู้วิจัยเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียน/แบบทดสอบระหว่างเรียน / แบบทดสอบหลังเรียน เก็บรวมรวบข้อมูลจาก นักศึกษาระดับประถมศึกษา กลุ่มตำบลนาถ่อน จำนวน 5 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยมีขั้นตอน ดังนี้
               1. ระยะเวลา ผู้วิจัยได้ใช้ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 3 หน่วย ๆ ละ 40 นาทีทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
สัปดาห์ที่ 1
1. วิเคราะห์ปัญหาและพฤติกรรมของนักศึกษา
นักศึกษา
- ให้ความสนใจที่ได้หนังสือใหม่ที่มีรูปแบบที่สวยงามและอักษรตัวใหญ่อ่านง่าย แต่ข้อสอบค่อนข้างยากแต่นักศึกษาก็พยายามทำข้อสอบให้ทันเวลาที่กำหนด
ครูผู้สอน
- นำบทเรียนสำเร็จรูปไปใช้กับนักศึกษาในกลุ่มตำบลนาถ่อน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5 คน ในช่วงแรกครูจะเป็นผู้แนะนำการใช้บทเรียนสำเร็จรูปให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดพื้นความรู้ของนักศึกษา
พบว่า
- นักศึกษาอยากได้บทเรียนสำเร็จรูปเป็นของตัวเอง
- ครูยังไม่ชัดเจนในเรื่องการใช้บทเรียนสำเร็จรูปให้สอดคล้องกับงานวิจันในชั้นเรียน
สัปดาห์ที่ 2
ครูผู้สอน หลังจากที่ครูได้ศึกษาเพิ่มเติมและได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยและได้เห็นตัวอย่างจากการประชุมวิทยากรแกนนำครูเริ่มมีเข้าใจในงานวิจัยมากขึ้นโดยอธิบายความสำคัญ ประโยชน์ของการบทเรียนสำเร็จรูปเมื่อจบบทเรียนให้นักศึกษา จะได้รับความรู้เรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียง โดยการเรียนรู้ไปพร้อมกับการทดสอบระหว่างเรียน
พบว่า
นักศึกษาและครูผู้สอนได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน สังเกตได้จากการซักถามและการตอบคำถาม
สัปดาห์ที่ 3
ครูผู้สอน การเรียนรู้ในสัปดาห์นี้จะเป็นแบบทดสอบมากกว่าศึกษาเนื้อหาในบทเรียนเมื่อจบบทเรียนให้นักศึกษาทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากเรียนจบ
พบว่า
นักศึกษาให้ความสนใจ ทำข้อสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน
สถิติที่ใช้และวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบก่อนเรียน และ แบบทดสอบหลังเรียน การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิจัย
การวิจัยเรื่อง การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง สำหรับนักศึกษาระดับประถมศึกษา ผู้วิจัยได้ดำเนินการเป็นลำดับ ขั้นตอน ดังนี้
1. การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง
     1. ผลการศึกษาวิจัย เป็นดังนี้
            ได้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำพ้องรูป คำพ้องเสียง สำหรับนักศึกษาระดับประถมศึกษา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผลการศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียง  สำหรับนักศึกษาระดับประถมศึกษา ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์เมื่อผู้วิจัยทำการจัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรูด้วยบทเรียนสำเร็จรูปจะมีค่าสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนเพราะผู้เรียนเกิดทักษะและความชำนาญ  อันมีผลมาจากแรงจูงใจและความสนุกสนานในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงสามารถสร้างและสรุปองค์ของความรู้ด้วยตนเอง   ดังปรากฏตามผลการวิจัย  จากผลการวิจัยดังกล่าวทำให้ผู้ทำการวิจัยเชื่อว่ากิจกกรรมกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้สื่อการเรียนต่าง ๆ รวมทั้งได้คิดและปฏิบัติจริง จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ถาวรตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดรวมทั้งสร้างเจตคติ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน และหลังเรียน
 รหัส             นักศึกษา ชื่อ – สกุล          ก่อนบทเรียน หลังใช้บทเรียน ความก้าวหน้า ความก้าวหน้า
1904492100415 นางสาวมะลิวัลย์ แซ่ลี          4                        8                   + 4                    40
1904511100030 นายถนอม พ่อกว้าง              6                       9                    +3                    30
1904511000717 นางสมบูรณ์ อาสาเนย์          4                      8                     +4                    40
1904521100038 นายสุวรรณ์ วรจิต                 3                       7                     +4                   40
1904522100048 นายนพรัตน์ กิมะโน             5                       10                  +5                    50
                                                            รวม     22                    42                   +4                  40
หมายเหตุ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหลังจากใช้นวัตกรรม คะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย ร้อยละ 25
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
              - ผลการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียงกับหลังใช้พบว่าก่อนเรียนนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 4.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 44 ของคะแนนเต็ม หลังเรียนนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 8.4 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84 ของคะแนนเต็ม และได้ค่าคะแนนความก้าวหน้าของนักศึกษาร้อยละ 40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด(ร้อยละ 25 ) แสดงให้เห็นว่าบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียง สามารถใช้พัฒนาผู้เรียนได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
อภิปรายผล
จากการที่ได้ดำเนินการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักศึกษาระดับประถมศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียง ปรากฏว่า สามารถแก้ปัญหาการเขียนสะกดคำที่มีคำพ้องรูป คำพ้องเสียง ของนักศึกษาได้ นอกจากนี้ยังส่งผลถึงการพัฒนาการของนักศึกษาด้านต่างๆ
ผลสะท้อน
ผู้บริหาร กศน.อำเภอธาตุพนม  นายสุปรีชา  ธนะนู
              1 . ควรจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปในหัวข้อเรื่องที่หลากหลาย เพื่อจะได้ทราบว่าผลการดำเนินการเรียนการสอนมีความแตกต่างกันอย่างไร
              2. ควรมีการนำบทเรียนสำเร็จรูปนี้ไปทดลองสอนเปรียบเทียบระหว่างการสอนแบบ
อื่น ๆ กับการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
ครูกศน.
1. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักเกณฑ์ทางภาษาเรื่องคำพ้องรูป คำพ้องเสียงดีขึ้น
2. นักศึกษาระมัดระวังในการเขียนคำมากขึ้น ค้นคว้าก่อนที่จะเขียน แสดงให้เห็นความสำคัญของการเขียน
3. นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ผลในด้านการผลิตสื่อการเรียนการสอน ได้มีสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นนักศึกษา
นักศึกษา
1 นักศึกษาพอใจและสนใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนอย่างมีความสุข
2 นักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในเวลาว่างได้
3 นักศึกษามีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น
ผู้วิจัย
          1.   นักศึกษามีระเบียบวินัยในการทำงาน ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ และมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองไม่เปิดดูคำตอบก่อน
          2.   การเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปนักศึกษามีการพัฒนาตนเองด้านบวก
          3.   ตัวผู้วิจัยมีการพัฒนาตนเองมากขึ้นทั้งในด้านการวิจัยและด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์การค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต      
ภาคผนวก
ตารางที่ 1 แบบให้คะแนนการเข้าร่วมกิจกรรม
ข้อที่        เกณฑ์การให้คะแนน                  รายละเอียด                               คะแนน
1        การส่งงาน                          ส่งทันตามเวลาที่กำหนด                          10
2        ความเป็นระเบียบ                ความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย            10
3        ความถูกต้อง                      ตัวสะกดไวยากรณ์เขียนถูกต้อง                10
4        ความสมบูรณ์ของเอกสาร ทำงานครบทุกกิจกรรม                             10
                                                                                                             รวม 40 คะแนน
111111111
                                   ระดับคะแนน 30 - 40 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ดี
                                   ระดับคะแนน 20 - 30 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
                                   ระดับคะแนน 10 - 20 คะแนน อยู่ในเกณฑ์พอใช้
                                  ระดับคะแนนน้อยกว่า 10 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง

19 สิงหาคม 2553

แนวคิดการทำวิจัยอย่างง่าย

แนวคิดการทำวิจัยอย่างง่าย

วิถีการทำงานของบุคลากรในสถานศึกษาที่ประกอบไปด้วย ครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้บริหารสถานศึกษา ในความเป็นจริงเราได้ใช้วิธีการวิจัยตลอดเวลา เพราะแต่ละคนย่อมต้องเกิดปัญหาและต้องหาวิธีแก้ปัญหาระหว่างการทำงาน ซึ่งกระบวนการอาจจะไม่ได้จัดระเบียบไว้ให้เป็นระบบ แต่สุดท้ายก็ต้องตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้นๆ โดยใช้หลักการและเหตุผลที่ค้นพบ ซึ่งหากต้องทำเป็นการวิจัย ผู้วิจัยต้องมีแนวหรือหลักการคิดให้เป็นระบบ การวิจัยจึงเริ่มต้นจากการคิด โดยมีขั้นตอนดังนี้
         1. คิดวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
         2. เลือกวิธีวิเคราะห์ที่เหมาะสมมาใช้หาคำตอบตามวัตถุประสงค์ที่ ต้องการ
         3. นำข้อมูลที่จำเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์ตามวิธีที่เลือกไว้
ขั้นตอนแรก ต้องฝึกเป็นคนขี้สงสัย อยากรู้อยากเห็น แต่ไม่อยากรู้เรื่องส่วนตัวของผู้อื่น ฝึกในเรื่องของการทำงานรอบ ๆ ตัวของครู
ขั้นตอนต่อไป ลองฝึกคิดหาคำตอบแบบมีเหตุผลมาประกอบกัน ก่อนที่จะตัดสินว่า สิ่งใดเป็นคำตอบที่ใช้การได้ สามารถอธิบายได้ หลังจากคิดเสร็จจึงลงมือทำวิจัย
ขั้นตอนการลงมือทำจริง ประกอบไปด้วย
1. เก็บรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์
2. นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์ที่เลือกไว้
การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการ วิเคราะห์ แล้วทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์ที่เลือกไว้ ก็จะได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

ความหมายของการวิจัยอย่าง่าย

                    ความหมายของการวิจัยอย่าง่าย  ตาม พระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ ฉบับปัจจุบันได้นิยามความหมายของการวิจัยได้ว่า การวิจัย หมายถึง การศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบและแผนการเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ นอกจากนี้ได้มีนักการศึกษา ได้ให้ความหมายของการวิจัยที่สอดคล้องกันไว้หลายท่าน ซึ่งกล่าวโดยสรุปความหมายของการทำวิจัย ได้ดังนี้
                    การวิจัย คือ กระบวนการแสวงหาความรู้ของบุคคลเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ ในศาสตร์หรือสาขาวิชาต่าง ๆ และค้นหาคำตอบหรือการพิสูจน์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น โดยมีการดำเนินการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ภายใต้กรอบแนวคิดและระเบียบวิธีการที่ชัดเจน มีขั้นตอน มีความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตลอดจนมีการตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบที่ได้รับ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นเครื่องมือในการคิดและการดำเนินการ
ประโยชน์หรือความสำคัญของการวิจัยอย่างง่าย

1. ผู้เรียนได้รับการช่วยเหลือและพัฒนาการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
2. ครูมีพื้นฐานความรู้ด้านการวิจัย สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นนักวิจัยมืออาชีพ มีผลงานทางวิชาการ มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ
3. ส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือการเรียนรู้อันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา
4. ส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษาที่เชื่อมั่นได้
กล่าวโดยสรุป การวิจัยอย่างง่าย มีความสำคัญต่อครู กศน. ในด้านการปรับปรุงพัฒนา การจัดกระบวนการเรียนรู้ในหลักสูตรและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลของงาน
มาตรา 24 (5) “ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และ
อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ”
มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา”
มาตรา 30

งานวิจัยในชั้นเรียน

http://www.ipst.ac.th/research/classroom/knowledge.htm

17 สิงหาคม 2553

เครื่องแบบพนักงานราชการ

                                         
เครื่องแบบพนักงานราชการชาย
เครื่องแบบพนักงานราชการหญิง

13 สิงหาคม 2553

กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ


  
๑๒  สิงหาคม  ๒๕๕๓ วันแม่แห่งชาติ
นายสุปรีชา  ธนะนู ผอ.กศน.อำเภอธาตุพนมพร้อมคณะครูกศน.อำเภอธาตุพนม  ร่วมพิธีถวายราชสดุดีลงนามและจุดเทียนชัยถวายพระพร  เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษา  ณ บริเวณหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร  อำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม  โดยมีนายธงชัย  เตยะธิติ  นายอำเภอธาตุพนม เป็นประธาน

11 สิงหาคม 2553

โครงการประชุมวิทยากรแกนนำการทำวิจัยในชั้นเรียน

โครงการประชุมวิทยากรแกนนำการทำวิจัยในชั้นเรียนในชั้นเรียน
ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานกศน.จังหวัดนครพนม
            ครั้งที่  1 : วันที่  3 สิงหาคม  2553
            ครั้งที่  2 :วันที่  11 สิงหาคม 2553
            ครั้งที่ 3 วันที่ 18  สิงหาคม 2553
            ครั้งที่  4 วันที่  25  สิงหาคม 2553
ณ ห้องประชุมเอนกประสงค์จังหวัดนครพนม
วิทยากรแกนนำกศน.อำเภอธาตุพนม ดังนี้
นางวิจิตรา  บัวสาย    ครูอาสาสมัคร
นายโกวิท  มีภาทัศน์  ครูศรช.
นางสาววาสนา  ศรีบุรมย์    ครูศรช.
นางสาวอ้อม  มอมไทรัตน์  ครูศรช.